April 27, 2024

Biz Focus Industry Issue 105, October 2021

กรมชลประทานชู “RID TEAM” ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี

กรมชลประทานเดินหน้าขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี ด้วยแนวปฏิบัติ “RID TEAM” หนุนเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 17.95 ล้านไร่ ปริมาตรเก็บกักน้ำ 13,243 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 2580 ตอกย้ำจุดแข็งองค์กร ทั้งความเชี่ยวชาญ ความรู้ ความเข้าใจของบุคลากรในทุกระดับ บวกการเตรียมพร้อมรับมือทุกสถานการณ์ พร้อมเผยการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ด้วยงบ 75,041.9786 ลบ. ลุยภารกิจหลักทุกๆ ด้านเต็มร้อย ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  ได้รับการจัดสรร ทั้งสิ้น 77,268.4339 ลบ.

คุณประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

คุณประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมชลประทานมีแนวทางการขับเคลื่อนงานภายใต้ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (2561-2580) ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายเชื่อมโยงแผนระดับต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 17.95 ล้านไร่ ปริมาตรเก็บกักน้ำ 13,243 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 2580

โดยการขับเคลื่อนงานในปัจจุบัน ใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติ ที่เรียกว่า RID TEAM ซึ่งมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนงานชลประทานไว้ 3 ประเด็น โดยประเด็นละ 4 กลยุทธ์ ดังนี้ ประเด็นที่ 1 องค์กรอัจฉริยะ โดยจะมีการจัดการและบูรณาการระบบฐานข้อมูล ปรับปรุงและพัฒนากระบวนงาน วิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการทำงาน สรรหาและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะสูงขึ้น

ประเด็นที่ 2 ความมั่นคงด้านน้ำ จะพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน บริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพิ่มประสิทธิภาพของโครงการชลประทาน พัฒนารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการรับมือภัยพิบัติด้านน้ำ

ประเด็นที่ 3 เพิ่มคุณค่าการบริการ จะเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการและภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน พัฒนาคุณภาพการให้บริการงานหน่วยงาน จัดวางตำแหน่งบุคลากรและจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าอย่างเหมาะสม และเสริมสร้างความผาสุกของบุคลากรเพื่อให้มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน

สำหรับแนวคิด RID TEAM เป็นแนวคิดที่มุ่งมั่นร่วมกันพัฒนากรมชลประทานให้เป็นองค์กรที่ดีไปด้วยกัน ซึ่งได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานไว้ 4 ด้าน ได้แก่ 1. นโยบายด้านรัฐ สังคมและสิ่งแวดล้อม จะมุ่งพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี และแผนแม่บทที่สำคัญของประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและสังคม

2. นโยบายด้านผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จะกำหนดมาตรฐานและพัฒนาการให้บริการบนพื้นฐานของกระบวนการ การมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน 3. นโยบายด้านองค์การ จะยกระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มีเป้าหมายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวผ่านการวางกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

4. นโยบายด้านผู้ปฏิบัติงาน มุ่งมั่นพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล พัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เป็น Smart Worker โดยจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการดำเนินงาน พัฒนาระบบและวิธีการทำงาน ตลอดจนจะให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตของบุคลากร

ปัจจุบัน กรมชลประทานมีหน้าที่หลัก 4 เรื่อง คือ จัดหาน้ำ จัดเก็บน้ำ จัดสรรน้ำ และจัดการน้ำ ดังนั้น ปัจจัยที่จะทำให้กรมชลประทานสามารถดำเนินการตามภารกิจทั้ง 4 ได้ คือ ความเพียงพอของปริมาณน้ำต้นทุน อย่างไรก็ตาม จากความผันแปรและความไม่แน่นอนของสภาพภูมิอากาศ ทำให้กรมชลประทานต้องรีบจัดหาและพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำให้ได้มากขึ้น ซึ่งเป็นอนาคตที่จำเป็นจะต้องรีบสร้างและทำให้เกิดโดยเร็ว เพราะจะตอบโจทย์ความมั่นคงด้านน้ำแก่ประเทศไทยในทุกภาคส่วน และเป็นประโยชน์สำหรับลูกหลานในอนาคตจริงๆ

โดยโครงการต่างๆ ที่กรมชลประทานได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาล และมีการผลักดันจากหลายๆ ภาคส่วนให้เกิดขึ้น อาทิ การสร้างความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่เศรษฐกิจ EEC, โครงการผันน้ำเข้าสู่เขื่อนภูมิพล หรือแม้กระทั่งโครงการโขง เลย ชี มูล ซึ่งโครงการเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยมีน้ำต้นทุนที่สามารถใช้การได้ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นรวมแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ล้าน ลบ.ม. และยังไม่นับถึงโครงการอ่างเก็บน้ำที่เป็นเชิงเดี่ยว ทั้งขนาดกลางและขนาดเล็กอีกหลายๆ โครงการ ดังนั้น ตนจึงมั่นใจว่าหากสามารถขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานที่วางไว้ให้สำเร็จได้ เป้าหมายที่ประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้นอีก 13,000 ล้าน ลบ.ม. ภายในปี 2580 เป็นไปได้อย่างแน่นอน

ด้านปัจจัยที่เป็นจุดแข็งของกรมชลประทาน คือ ความเชี่ยวชาญและความรู้ความเข้าใจของบุคลากรกรมชลประทานทุกระดับในการปฏิบัติงานตามภารกิจ ทั้ง 4 เรื่องที่ตนกล่าวไปแล้ว และมั่นใจว่าไม่มีใครรู้เรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำในเชิงมหภาคดีเท่ากับพวกเรา

รวมถึง ปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จในภารกิจต่างๆ ที่ได้รับมอบหมาย คือ มีการเตรียมพร้อมรับมือในทุกสถานการณ์ ซึ่งท่านอาจจะเห็นจากสื่อต่างๆ ว่าหากมีสถานการณ์วิกฤตเกิดขึ้นทั้งภัยแล้ง อุทกภัย หรือวัชพืชในลำน้ำ ทีมงานของกรมชลประทานจะเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะตนได้ให้แนวทางไปแล้วว่า ผู้บริหารทุกคนชอบการจัดทำแผนป้องกันเหตุ ไม่ใช่แผนเผชิญเหตุ เพราะฉะนั้นการเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญ

“ในฤดูฝน น้ำหลากนี้ เราได้จัดเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและเครื่องจักรเครื่องมือไว้ประจำจุดต่างๆ แล้ว โดยเฉพาะที่เคยเกิดเหตุการณ์ซ้ำซ้อนทุกๆ ปี และสามารถปฏิบัติงานได้โดยทันที การทำงานที่มีความพร้อมด้วยความเชี่ยวชาญแบบนี้จึงเป็นสิ่งที่ประชาชน และผู้รับบริการทุกคนเชื่อมั่นในกรมชลประทานของเรา” คุณประพิศกล่าว

คุณประพิศ กล่าวต่อว่า กรมชลประทานมีแผนการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน โดยดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 2565 ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  งบประมาณทั้งสิ้น 75,041.9786 ล้านบาท ประกอบด้วย

แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 6,179.7222 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรที่สนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ และบริหารจัดการน้ำ, แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 3,536.7469 ล้านบาท ดำเนินการบำรุงรักษางานชลประทาน เพื่อส่งน้ำ ระบายน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทาน 27.32 ล้านไร่,

แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมงบประมาณ 11,373.7168 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 4 ศูนย์ ก่อสร้างแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 109 แห่ง รวมถึงส่งเสริมการใช้ยางในงานชลประทาน จำนวน 2,007 ตัน,

แผนงานบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ระดับภาค (ด้านการจัดการน้ำและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน) งบประมาณ 8,231.7642 ล้านบาท ดำเนินการแผนงานสนับสนุนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ภาคและความต้องการของพื้นที่ โดยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 51,308 ไร่ เพิ่มปริมาตรเก็บกัก 24.01 ล้าน ลบ.ม.,

แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ งบประมาณ 45,720.0285 ล้านบาท ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (ปี พ.ศ. 2558–2569) โดยการก่อสร้างโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีอาคารชลประทานประเภทต่างๆ เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝาย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า แก้มลิงการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำ เป็นต้น

โดยสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จำนวน 218,194 ไร่ เพิ่มปริมาตรเก็บกัก 72.87 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัยเพิ่มขึ้น 0.73 ล้านไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกันระดับความเค็ม 0.38 ล้านไร่ พื้นที่การเกษตรได้รับการจัดรูปที่ดิน 28,817 ไร่ พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการจัดระบบน้ำถึงแปลงนา 64,002 ไร่

ส่วนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมชลประทานได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทั้งสิ้น 77,268.4339  ล้านบาท ประกอบด้วย แผนงานบุคลากรภาครัฐ งบประมาณ 5,931.0889 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากรที่สนับสนุนการ ดำเนินงานเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำ และบริหารจัดการน้ำ,

แผนงานพื้นฐานด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 1,887.0446 ล้านบาท เพื่อเป็นงบดำเนินงาน และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น อาคารที่ทำการ ระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น สำหรับสนับสนุนการดำเนินการบริหารจัดการน้ำและงานชลประทาน ให้สามารถส่งน้ำและระบายน้ำในเขตชลประทาน 27.47 ล้านไร่,

แผนงานยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม งบประมาณ 19,853.3951 ล้านบาท เพื่อบำรุงรักษางานชลประทาน เพื่อส่งน้ำ ระบายน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในเขตชลประทานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ สนับสนุนศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จำนวน 4 ศูนย์ ก่อสร้างแหล่งน้ำสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 104 แห่ง และส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ 898 ตัน,

แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ งบประมาณ 49,596.9053 ล้านบาท ดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (ปี พ.ศ. 2561–2580) โดยการพัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทานโครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งมีอาคารชลประทานประเภทต่างๆ เช่น อ่างเก็บน้ำ ฝาย ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า แก้มลิง โครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ เป็นต้น โดยสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทาน จำนวน 162,700 ไร่ เพิ่มปริมาตรเก็บกัก 140.86 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ที่ได้รับการป้องกันและลดผลกระทบจากอุทกภัยเพิ่มขึ้น 420,673 ล้านไร่,

แผนงานโครงการชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เปิดใหม่ที่สำคัญ อาทิ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา, โครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดยะลา, โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน (ระยะที่2) จังหวัดสุพรรณบุรี, โครงการระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองดินแดง จังหวัดนครศรีธรรมราช, โครงการฝายสบร้อง จังหวัดเชียงใหม่, โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำพื้นที่ขอบอ่างอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น, โครงการฝายบ้านรุ่งเหนือ จังหวัดศรีสะเกษ และ โครงการประตูระบายน้ำบ้านยาง พร้อมอาคารประกอบ จังหวัดนครราชสีมา เป็นต้น

www.rid.go.th

Rate this item
(0 votes)
Last modified on Sunday, 17 July 2022 11:31
BizFocus

Selfies labore, leggings cupidatat sunt taxidermy umami fanny pack typewriter hoodie art party voluptate. Listicle meditation paleo, drinking vinegar sint direct trade.

www.themewinter.com

Leave a comment

Make sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.

Page Visitor

010634385
Today
Yesterday
This Week
This Month
Last Month
All days
1881
4975
31903
129001
137776
10634385
Your IP: 18.119.126.80
2024-04-27 10:47
© 2024 Biz Focus Magazine All Rights Reserved.