
Biz Focus Magazine เป็นนิตยสารรายเดือนที่ร่วมส่งเสริมนักธุรกิจ นักลงทุน และผู้ประกอบการภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
ทั้งในและต่างประเทศ เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารระหว่างภาครัฐ - เอกชน และนักลงทุน
+(662) 399-1388
editor@bizfocusmagazine.com
ฮานามิ ฟู้ดส์ ผุดอาคารใหม่เสริมแกร่งธุรกิจ
ฮานามิ ฟู้ดส์ ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวภายใต้แบรนด์ สแน็คแจ๊ค (Snack Jack) เนรมิตรอาคารหลังใหม่ ด้วยงบลงทุน 200 ลบ. หนุนกำลังการผลิตพุ่งอีก 50% รองรับการเติบโตในอนาคต บวกตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อมตั้งเป้ารายได้ปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
คุณธีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮานามิ ฟู้ดส์ จำกัด
คุณธีระ นภาพฤกษ์ชาติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮานามิ ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยวภายใต้แบรนด์ สแน็คแจ๊ค (Snack Jack) กล่าวว่า ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารใหม่ บนพื้นที่ เกือบ 3 ไร่ ซึ่งใช้งบลงทุน 200 ล้านบาท (ค่าที่ดินและก่อสร้าง) และเริ่มดำเนินการในไตรมาส 3/2562 โดยเป็นอาคารสูง 3 ชั้น ประกอบด้วย ชั้น 1 คลังเก็บสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบ ส่วนชั้น 2 และ 3 เป็นสายการผลิต คาดว่าโครงสร้างอาคารจะแล้วเสร็จกลางปี 2563 ส่วนการตกแต่งภายในและการวางระบบ จะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาส 3/2563 ต่อจากนั้นจะเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในช่วงปลายปีเดียวกัน
สำหรับวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ เนื่องจาก ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทได้มีการพัฒนารสชาติผลิตภัณฑ์มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งรสชาติดั้งเดิมที่ทุกคนคุ้นชิน และรสชาติใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น อาทิ รสบาร์บีคิว, รสไก่แซ่บ, รสวาซาบิ, รสเห็ดหอม และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจเริ่มขยายตัวและเติบโตมากยิ่งขึ้น จึงทำให้โรงงานเดิมมีปัญหาเรื่องพื้นที่ซึ่งมีจำกัด
รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้า อย่างเช่น กลุ่มโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) ได้เปลี่ยนนโยบายการสั่งซื้อสินค้าที่จากเดิมจะสั่งสินค้าจำนวนมากๆ เพื่อสต็อก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นการสั่งหลายครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้น บริษัทจึงต้องมีพื้นที่สำหรับเก็บสินค้าให้ได้มากที่สุด ขณะเดียวกัน หากอาคารดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยให้บริษัทมีพื้นที่ในการทำงาน และเพิ่มพื้นที่สำหรับเก็บสินค้าได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากโรงงานแห่งใหม่จะสร้างเชื่อมต่อกับโรงงานเดิมที่มีพื้นที่ประมาณ 4 ไร่ ทำให้สามารถรองรับการผลิตที่รวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด
“เมื่ออาคารหลังใหม่ก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้นอีก 50% ซึ่งจะสนับสนุนและผลักดันให้ธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น และมีกำลังการผลิตอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในประเทศ รวมทั้ง การขยายฐานการส่งออกด้วยเช่นกัน โดยปัจจุบัน ได้เริ่มขยายการส่งออกไปยังประเทศเมียนมประเทศเวียดนาม และประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดต่างประเทศยังถือว่าน้อยมากถ้าเทียบกับตลาดภายในประเทศ แต่เราก็พยายามที่จะเติบโตต่อไปมากขึ้นเพราะต้องใช้เวลาเพื่อให้ผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้านได้รู้จักกับผลิตภัณฑ์มากขึ้น” คุณธีระกล่าว
นอกจากการก่อสร้างอาคารหลังใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตและรองรับความต้องการของลูกค้าแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญในการปรับสมดุลภายในองค์กร ด้วยการปรับตัวให้เข้ากับยุค 4.0 มากยิ่งขึ้น โดยมีการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรใหม่ๆ เข้ามาในสายการผลิตเพื่อใช้ในการคำนวณสูตรการผลิต อีกทั้ง ยังช่วยลดการใช้แรงงานคน ซึ่งขณะนี้ แรงงานไทยค่อนข้างขาดแคลน ปัจจุบันบริษัทใช้แรงงานคนไทย 100%
คุณธีระ กล่าวต่อว่า สำหรับผลประกอบการในปี 2562 บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมใกล้เคียงกับปี 2561 ที่ผ่านมา โดยสัดส่วนรายได้หลักจะมาจากตลาดภายในประเทศ เนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และค่าเงินบาทที่แข็งค่าส่งผลกระทบการส่งออกเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวถือว่าส่งผลดีต่อบริษัทในด้านการนำเข้าวัตถุดิบ เพราะบริษัทใช้ถั่วลันเตาที่นำเข้าจากประเทศแคนาดา 100% จึงช่วยลดต้นทุนได้ในบางส่วน
ด้านจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ บริษัทจะเน้นผลิตผลิตภัณฑ์ เฮลตี้ สแน็ค (Healthy Snacks) ซึ่งวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตมากที่สุดคือ ถั่วลันเตาเขียว และถั่วทอง เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีโปรตีนสูงและมีประโยชน์ต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานสามารถรับประกันความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ลูกค้าด้วยมาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) และมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) ทั้งนี้ จากจุดเด่นที่กล่าวมาส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทมีความแตกต่างจากขนมขบเคี้ยวทั่วไปและได้รับการตอบรับจากกลุ่มลูกค้าเป็นอย่างดี
คุณธีระ กล่าวต่อถึงสิ่งที่อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยสนับสนุนว่า รัฐบาลควรชี้แจงถึงทิศทางของเศรษฐกิจพร้อมทั้งกำหนดนโยบายที่ชัดเจนโดยเฉพาะค่าเงินบาทที่แข็งเกินไป เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมความพร้อมรองรับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง และวางแผนสำหรับการรับมือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เพราะอุตสาหกรรมอาหารถือว่าเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ยังสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ภาครัฐเล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้
Selfies labore, leggings cupidatat sunt taxidermy umami fanny pack typewriter hoodie art party voluptate. Listicle meditation paleo, drinking vinegar sint direct trade.
www.themewinter.comMake sure you enter all the required information, indicated by an asterisk (*). HTML code is not allowed.