วว. เดินหน้ากลยุทธ์ “S-I-E-N” ปลุกผู้ประกอบการ ใช้วิทยาศาสตร์ งานวิจัย และเทคโนโลยีพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต สู้เศรษฐกิจโลกผันผวน พร้อมจับมือพันธมิตร อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จัดงาน ProPak Asia 2025

Star InactiveStar InactiveStar InactiveStar InactiveStar Inactive
 

วว. เดินหน้ากลยุทธ์ “S-I-E-N” ปลุกผู้ประกอบการ ใช้วิทยาศาสตร์ งานวิจัย 

และเทคโนโลยีพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต สู้เศรษฐกิจโลกผันผวน 

พร้อมจับมือพันธมิตร อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ จัดงาน ProPak Asia 2025 

สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับอุตสาหกรรมโลก    

  

         ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวถึง ศักยภาพในการผลิตและการแข่งขันของสินค้าไทยว่า ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตสินค้าลำดับต้นของโลก ผลจากข้อมูลการวิเคราะห์วิจัยดัชนีศักยภาพอุตสาหกรรม เพื่อสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของไทยเกิดจาก 4 ปัจจัย คือ ผลิตภาพแรงงาน สัดส่วนการส่งออก มูลค่าเพิ่มภายในอุตสาหกรรม และมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศ ทำให้ปัจจุบันไทยมีศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมอยู่ในอันดับที่ 35 ของโลก จาก 64 ประเทศ (อันดับ 2 ของอาเซียน) และ เป็น 1 ใน 3 ของภูมิภาคในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก (จาก 13 ประเทศ) โดยอุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และธุรกิจดูแลสุขภาพ

        แต่จากการเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวและพัฒนาให้เร็วขึ้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ โดย วว. มีส่วนช่วยในการสนับสนุนและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน และสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เกษตรแปรรูป พลังงานสะอาด และวัสดุขั้นสูง ซึ่ง 4 กลยุทธ์หลักที่ วว. เดินหน้าขับเคลื่อน คือ “S-I-E-N” ประกอบด้วย S (Science, Technology and Innovation): สร้างผลงานวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต I (Infrastructure): พัฒนายกระดับโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  E (Ecosystem): สร้างผู้ประกอบการและอุตสาหกรรมด้วยการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม N (Network): สร้างเครือข่ายเชิงพื้นที่ ยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตั้งแต่เศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาเชิงพื้นที่ ขับเคลื่อนผ่านระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 5 ภาค ผ่านเครือข่ายพันธมิตรและ วว.

       ส่วนความร่วมมือในการจัดงาน ProPak Asia 2025 เป็นอีกหนึ่งการขับเคลื่อนสำคัญผ่านพันธมิตร โดยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมถึง Ecosystem การผลิตและแปรรูปอาหารทั้งกระบวนการที่จัดแสดงในงานฯ ล้วนมีส่วนผลักดันเพิ่มศักยภาพห้แก่กลุ่ม M-SMEs รวมถึงช่วยผลักดันไทยให้เป็น Hub แห่งนวัตกรรมใหม่ในกระบวนการผลิต สำหรับการจัดแสดงงานของ วว. นั้น มีทั้งการนำศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยและกลุ่มบริการอุตสาหกรรม นำผลงานวิจัยงานบริการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาร่วมจัดนิทรรศการ ให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการภายใต้แนวคิด  “TISTR Total Solutions  พร้อมโชว์ผลงานวิจัยและบริการอย่างครบวงจร ทั้งด้านเกษตร อาหาร สุขภาพและการแพทย์ บรรจุภัณฑ์ การวิจัยและพัฒนาเพื่อนำวัสดุแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงให้บริการทดสอบบรรจุภัณฑ์ เช่น วัสดุบรรจุภัณฑ์ (กระดาษ พลาสติก โลหะ)  Biodegradable Material Test  บรรจุภัณฑ์ขนส่ง  บรรจุภัณฑ์ขายปลีก  บรรจุภัณฑ์สินค้าอันตราย  Performance Test  ตลอดจนการออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์  เช่น ออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ ฯลฯ อีกด้วย

      ด้านนางสาวกชสร โตเจริญธนาผล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ผู้จัดงาน ProPak Asia 2025 กล่าวว่า วว. เป็นหนึ่งในพันธมิตรสำคัญของการจัดงาน ProPak Asia มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิดและจุดมุ่งหมายเดียวกันในการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ทุกภาคส่วนของห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหาร อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งการจัดงานในปีนี้นอกจากจะมีการจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยี เครื่องจักรและโซลูชั่นที่ทันสมัยล่าสุดแล้ว เพื่อความสอดคล้องกับเป้าหมายของอุตสาหกรรมโลกที่มุ่งสู่การเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ดังนั้นงาน ProPak Asia 2025 จึงจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “เส้นทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในอุตสาหกรรมการแปรรูปและบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืน” (Carbon-Neutral Pathways to Sustainable Processing and Packaging Ecosystem) เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีจุดหมายและมีส่วนร่วมในการลดและชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เท่ากับศูนย์ (Carbon Neutral) ในทุกกระบวนการของการผลิต การแปรรูปและการบรรจุภัณฑ์ พร้อมทั้งเป็นเวทีในการระดมความคิด แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และประสบการณ์ ทั้งในเรื่องการดำเนินงาน การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี การทำข้อตกลง แนวทางและกฏระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมถึงสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติ ระหว่างภาครัฐ องค์กรและสมาคมในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งไทยและนานาชาติ ผู้เชียวชาญ นักวิชาการ บริษัทชั้นนำของโลก และผู้ประกอบการ ซึ่งผลของการขับเคลื่อนแนวทางปฏิบัติหลายอย่างเป็นผลเกิดขึ้นจากงาน ProPak Asia ในหลายครั้งที่ผ่านมา

     สำหรับการจัดแสดงงานฯ ในปีนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้เข้าร่วมจัดแสดงงานจนทำให้พื้นที่การจัดงาน ProPak Asia 2025 เต็ม 100% โดยมีบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมจัดแสดงในงานมากถึง 2,000 แบรนด์ พร้อม 15 พาวิลเลี่ยนจากประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ บาวาเรีย, จีน, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, อเมริกาเหนือ, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, สเปน, ไต้หวัน โดยนำเสนอผ่าน 8 โซน ประกอบด้วย 1) ProcessingTechAsia 2) PackagingTechAsia 3) DrinkTechAsia 4) PharmaTechAsia 5) Lab&TestAsia 6) PackagingSolutionAsia 

7) Coding,Marking&LabellingAsia 8) Coldchain,Logistics,Warehousing&FactoryAsia ซึ่งจะมีทั้งการนำเสนอเทคโนโลยีแปรรูป การผลิตบรรจุภัณฑ์  และ บรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป เทคโนโลยีเพื่อการเขียนรหัสติดป้ายและปักหมายเลขบนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เทคโนโลยีเพื่อการขนส่ง จัดเก็บสินค้า เทคโนโลยีที่สนับสนุนกระบวนการผลิต เครื่องจักรอัตโนมัติ  หุ่นยนต์ช่วยผลิต AI, IoT และระบบ Automation และ โซลูชั่นด้านความปลอดภัยทางอาหาร ระบบตรวจสอบคุณภาพอาหาร เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน บรรจุภัณฑ์รีไซเคิลและย่อยสลายได้ Smart Packaging โซลูชั่นด้านความปลอดภัยทางอาหาร ระบบตรวจสอบคุณภาพอาหาร Future Food Corner ที่นำเสนอข้อมูลเชิงลึกและแนวโน้มของทิศทางอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ฯลฯ

ส่วนไฮไลท์กิจกรรมสำคัญในงาน ประกอบด้วย

 

      งาน ProPak Asia 2025 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ผู้สนใจรายละเอียดการจัดงานและต้องการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเข้าชมงาน ProPak Asia 2025 ลงทะเบียนได้ที่ www.propakasia.com 

------------------------------------------------------------------------

นำเสนอข่าวโดย ฝ่ายประชาสัมพันธ์การจัดงาน ProPak Asia 2025 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณกัมปนาท ถวัลย์กิจดำรงค์ (หนุ่ม) โทร. 085-822-8238 E-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
คุณณัฐกานต์ อินเป็ง (แมว) โทร.089-770-7737  Email : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.